
อาจารย์หลิวเทียนหัว ชาวเมืองเจียงอิ่น มณฑลเจียงซู ศิลปินชั้นครูในวงการดนตรีประจำชาติจีน เป็นทั้งนักดนตรี นักประพันธ์ และนักการศึกษาด้านดนตรี มีความสามารถทางการดนตรีทั้งดนตรีจีนและดนตรีตะวันตก ชำนาญทั้งทางด้านทฤษฎีและการปฏิบัติ

อาจารย์หลิวเทียนหัวเรียนดนตรีสากลในโรงเรียนทหาร ในปี 1915 ตกงาน เริ่มเรียนซอเอ้อร์หู และเริ่มแต่งเพลง 《病中吟》รำพึงในยามป่วยไข้

ต่อมาได้สอนดนตรีที่รร.มัธยม และที่รร.นี้ อาจารย์หลิวเทียนหัวได้ตั้งวงดนตรีเจียงหนานซือจู๋ และวงโยธวาทิต ต่อมาได้เรียนซอเอ้อร์หูกับอาจารย์โจวเส่าเหมย เรียนผีผาทางสำนักจงหมิงกับอาจารย์เสิ่นปี่โจว เรียนกู่ฉินกับอาจารย์เกาเหรินที่มณฑลหูหนาน

ในปี 1921 อาจารย์หลิวเทียนหัว ได้ร่วมงานกับวงดนตรีไคหมิงที่เซียงไฮ้ และตั้งวง ดนตรีพื้นบ้านที่บ้านเกิด ในปี 1922ได้ไปเป็นที่ปรึกษาของชมรมดนตรีประจำชาติจีนที่มหาวิทยาลัยปักกิ่ง และสอนดนตรีที่วิทยาลัยครูสตรีปักกิ่งและที่ วิทยาลัยศิลปะ
อาจารย์หลิวเทียนหัวได้มีโอกาสเรียนไวโอลิน และทฤษฏีดนตรีตะวันตกกับอาจารย์ชาวรัสเซีย นอกจากนี้อาจารย์หลิวเทียนหัวยังทำวิจัยเก็บข้อมูลเกี่ยวกับดนตรีพื้นบ้านของจีน ได้เชิญศิลปินพื้นบ้านมาบันทึกเสียง แล้วทำการวิจัย บันทึกโน้ต
ปี 1932 อาจารย์หลิวเทียนหัวเสียชิวิตด้วยโรคระบาดไข้อีดำอีแดง หรือไข้ผื่นแดง ขณะที่ไปทำงานภาคสนามเก็บข้อมูลที่เทียนเฉียว กรุงปักกิ่ง

No comments:
Post a Comment